มีข้อมูลระดับบุคคลแล้วจะนำมาประเมินความคุ้มค่าอย่างไร?

เรียนรู้การนำข้อมูลระดับบุคคลมาใช้ในการประเมินความคุ้มค่าด้วย regression analysis เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น ผ่านการบรรยายและลงมือปฏิบัติจริง

การอบรม “การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขโดยใช้ข้อมูลระดับบุคคล” ครั้งที่ 2

ในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นจำนวนมาก สวนทางกับทรัพยากรด้านสาธารณสุขที่มีอยู่อย่างจำกัด การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข (economic evaluation) จึงมีบทบาทสำคัญต่อการจัดสรรงบประมาณและบุคลากรด้านสาธารณสุขให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การนำข้อมูลระดับบุคคล (person-level data) มาใช้ในการประเมินความคุ้มค่าฯ ด้วย regression analysis สามารถช่วยควบคุมปัจจัยกวนต่าง ๆ (confounding factors) ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำมากขึ้น นอกจากนั้น การใช้ข้อมูลระดับบุคคลยังสามารถตอบโจทย์เรื่องการจัดสรรทรัพยากรในกลุ่มประชากรที่มีลักษณะแตกต่างกันได้ ซึ่งการประเมินความคุ้มค่าฯ โดยทั่วไปที่ใช้ข้อมูลผลรวม (aggregate data) ไม่สามารถตอบโจทย์ในประเด็นนี้ได้

หากท่านมีข้อมูลระดับบุคคลอยู่ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากฐานข้อมูลทางการแพทย์ การทดลองทางคลินิก หรือการศึกษาเชิงสังเกต แต่ไม่แน่ใจว่าจะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการประเมินความคุ้มค่าฯ อย่างไร การอบรมนี้จะนำท่านไปทำความรู้จักกับหลักการ ขั้นตอนและกระบวนการ พร้อมทั้งการนำเสนอและสื่อสารผลการประเมินความคุ้มค่าฯ ที่ได้จากการใช้ข้อมูลระดับบุคคล ผ่านการบรรยายและลงมือปฏิบัติจริง

การอบรมนี้จัดโดย โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP)

กำหนดการอบรม

วันที่ 17 – 18 ตุลาคม พ.ศ. 2567
สถานที่อบรม: แจ้งให้ทราบภายหลัง

วัตถุประสงค์การอบรม

  • เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการ องค์ประกอบ แนวทาง และความสำคัญของการใช้ข้อมูลระดับบุคคลในการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข
  • เพื่อประยุกต์ใช้เครื่องมือการวิเคราะห์การถดถอย (regression analysis) กับข้อมูลระดับบุคคลในการประมาณค่า ICER และ INB
  • เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการกำหนดลักษณะของความไม่แน่นอน (uncertainty) อันเกิดจากการใช้ข้อมูลระดับบุคคลในการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข
  • เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในสื่อสารผลการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขด้วยข้อมูลระดับบุคคล
  • เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข

กลุ่มเป้าหมาย

นักวิชาการ นักวิจัย บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน นักศึกษา และผู้ที่สนใจในการใช้ข้อมูลระดับบุคคลในการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข

ความรู้พื้นฐานที่จำเป็น

  • มีความเข้าใจพื้นฐานในการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และการวิเคราะห์การถดถอย (regression)
  • มีพื้นฐานการใช้งานโปรแกรมทางสถิติเป็นอย่างดี
  • มีคอมพิวเตอร์พกพา (laptop/notebook computer) พร้อมติดตั้งโปรแกรมสถิติ

วิทยากร

รศ. ดร.วรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัย

หัวหน้าโครงการและนักวิจัยอาวุโสของ HITAP นักวิจัยที่โรงพยาบาลเซนต์ไมเคิล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่สถาบันนโยบายเพื่อสุขภาพ ด้านการจัดการและประเมินภายใต้มหาวิทยาลัยโตรอนโต ประเทศแคนาดา งานวิจัยของ รศ.ดร.วรรณฤดี มุ่งเน้นไปที่วิธีการประยุกต์ใช้เศรษฐศาสตร์เพื่อสุขภาพและการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพในสภาพแวดล้อมจริง รวมถึงวิธีการพัฒนาขั้นตอนในการประเมินทางเศรษฐศาสตร์

ดร. นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์

แพทย์และนักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ผู้ก่อตั้ง HITAP และ visiting professor ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ดร. นพ.ยศ เป็นผู้ริเริ่มการอบรมการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ทางสาธารณสุขในประเทศไทย และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข งานวิจัยของ ดร. นพ.ยศ ได้เป็นข้อมูลในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น

ดร. พญ.จารวี สุขมณี

นักวิจัยของ HITAP จบการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาระบาดวิทยา จากมหาวิทยาสงขลานครินทร์ มีความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ และการประยุกต์ใช้วิธีการทางสถิติ ในการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข และการประเมินผลกระทบของโครงการหรือนโยบายด้านสุขภาพ นอกจากนี้ ดร. พญ.จารวี ยังมีประสบการณ์การทำวิจัยด้านการสร้างแบบจำลองพลวัต (dynamic model) เพื่อจำลองการระบาดของโรคติดเชื้อ เช่น โควิด-19

นางสาวภิชารีย์ กรุณายาวงศ์

นักวิจัยของ HITAP จบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ จาก American University สหรัฐอเมริกา มีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยในหลายสาขา อาทิ นโยบายการเงินและการคลัง เศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ และการเพิ่มผลิตภาพในอุตสาหกรรม ปัจจุบันงานวิจัยของภิชารีย์  มุ่งเน้นไปที่การประยุกต์ใช้วิธีการทางเศรษฐมิติกับข้อมูลขนาดใหญ่ในการศึกษาและประเมินผลกระทบของโครงการหรือนโยบายด้านสุขภาพ

ค่าลงทะเบียน

รอบวันที่รับสมัครราคา
Early birdวันนี้ – 15 มิถุนายน พ.ศ. 256713,000 บาท
ทั่วไป16 มิถุนายน – 31 สิงหาคม พ.ศ. 256715,000 บาท
  • ส่วนลดพิเศษ 10% สำหรับศิษย์เก่าการอบรมการประเมินความคุ้มค่าทางสาธารณสุข (EE) เมื่อแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ ประกาศนียบัตร หลักฐานการโอนเงิน หรือใบเสร็จรับเงิน
  • ข้าราชการสามารถเบิกจ่ายค่าลงทะเบียน ค่าเดินทางและค่าที่พักจากต้นสังกัดได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และสามารถเข้าร่วมประชุมโดยไม่ถือเป็นวันลา นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการอบรมที่เรียนครบตามหลักสูตรที่กำหนดสามารถขอรับหน่วยกิต CME, CDEC และ CPE ได้

ผู้ประสานงานการอบรม

นางสาวปิยดา แก้วเขียว, นางสาวจุฬาทิพย์ บุญมา
โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP)
ชั้น 6 อาคาร 6 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี
โทรศัพท์ 02-590-4549
โทรสาร 02-590-4369
อีเมล: dataworkshop@hitap.net, piyada.g@hitap.net, chulathip.b@hitap.net

เกี่ยวกับ HITAP

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ หรือ HITAP เป็นหน่วยงานวิจัยภายใต้กระทรวงสาธารณสุข มีความเชี่ยวชาญด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ รวมถึงประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข งานวิจัยประเมินความคุ้มค่าฯ ของ HITAP เป็นข้อมูลประกอบการการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น HITAP ยังทำงานในระดับนานาชาติ โดยพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยในประเทศกำลังพัฒนากว่า 15 ประเทศ ในการประเมินความคุ้มค่าฯ รวมถึงงานวิจัยด้านอื่น ๆ

HITAP มีการจัดอบรมการประเมินความคุ้มค่าด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขโดยใช้ aggregate data มากว่า 15 ปี
การอบรมการประเมินความคุ้มค่าด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขครั้งที่ 19 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 ก.ย. – 4 ต.ค., 17-18 ต.ต. และ 21-22 ต.ค. 2567

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://eetraining.hitap.net/

Powered by WordPress.com.